ข่าวและบทความ

ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ผู้ทำบัญชีคืออะไร?
ผู้ทำบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้ทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม
ใครบ้างที่สามารถเป็นผู้ทำบัญชีได้ ?
ผู้ทำบัญชี ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี ได้แก่
2.1 สำนักงานมิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ หัวหน้าสำนักงาน
2.2 สำนักงานจัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
2.3 สำนักงานจัดตั้งในรูปของนิติบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ กรรมการ
3. กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ทำบัญชี คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ
4. ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย ต้องมีผู้ช่วยที่มีคุณสมบัติเหมือนกับกับผู้ทำบัญชี
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี มีอะไรบ้าง ?
ผู้ทำบัญชีที่จะขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
- มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
- มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
- ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือ กฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีคุณวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
คุณวุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชีที่สามารถรับทำบัญชีแบ่งตามประเภทธุรกิจ
ประเภทธุรกิจ (ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี) |
คุณวุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชี |
บุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
ไม่กำหนดคุณวุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชี |
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และ บริษัทจำกัด ที่มี - ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และ - สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และ - รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท |
- อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า - ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าขึ้นไป |
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และ บริษัทจำกัด ที่มี - ทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท และ - สินทรัพย์รวมมากกว่า 30 ล้านบาท และ - รายได้รวมมากกว่า30 ล้านบาท 2. บริษัทมหาชนจำกัด 3. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ ประกอบธุรกิจในประเทศไทย 4. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร |
ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าขึ้นไป |
เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี มีอะไรบ้าง ?
- ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี
- แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี การเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ และการยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี วันที่มีการเปลี่ยนแปลง และวันที่มีการยกเลิก ตามลำดับ
- ผู้ทำบัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชีและสถานภาพการเป็น สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี
- ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน ซึ่งจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
- แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) หลังการทำกิจกรรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ บัญชี แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน และต้องเก็บหลักฐานการพัฒนาความรู้ ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง
- ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีให้กับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน ไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีบัญชีใดก็ตาม
หน้าที่ของผู้ทำบัญชี มีอะไรบ้าง ?
ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ดังนี้
- ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสาร ที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
- การลงรายการในบัญชี ต้องปฏิบัติดังนี้
- ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้
- เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
ไม่อยากพลาดบทความดีๆ ด้านบัญชี-ภาษี และโปรโมชั่นพิเศษ กดสมัครรับข่าวสารที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก :
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗